หลักการและเหตุผล
การพัฒนาครูตามแนวคิดของกระทรวงศึกษาธิการมีแนวนโยบายสร้างการมีส่วนร่วมของ หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้มีโอกาสเข้ามาเป็นหน่วยพัฒนาครูสามารถนำเสนอหลักสูตร การพัฒนาครูประจำการให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ประกอบกับหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งวิทยฐานะของครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (กคศ.) ได้กำหนดให้ครูและบุคลากร ทางการศึกษา สายงานการสอน จะต้องเข้ารับการพัฒนาจากหลักสูตรที่สถาบันคุรุพัฒนาให้การรับรองจำนวน ไม่น้อยกว่า 12 – 20 ชั่วโมง ต่อปีดังนั้น การนำเสนอหลักสูตรเพื่อการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน จึงจำเป็นต้องมีกรอบแนวคิดการออกแบบหลักสูตร เพื่อให้หน่วยพัฒนาครู ได้ใช้เป็น แนวทางในการออกแบบหลักสูตรที่สนองต่อความต้องการจำเป็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาและ สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของ กคศ. สถาบันคุรุพัฒนาจึงได้กำหนดกรอบแนวคิดการออกแบบหลักสูตรเพื่อ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอนขึ้น
ซึ่งในยุคที่ทุกสิ่งเข้าสู่โลกของดิจิทัล (Digital) และสื่อสังคมออนไลน์ทั้งเรื่องของแนวโน้มการตลาด สื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนหรือธุรกิจ ไปจนถึงภาครัฐฯ สำหรับส่วนของการศึกษาเองก็มีการตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีและสารสนเทศที่มากมายมาประยุกต์ใช้กับผู้เรียน เช่น นักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาเช่นกัน
บริษัท แม็คเอ็ดดูกา จำกัด ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการการศึกษา หน่วยงานการศึกษา ที่มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดในเรื่องของการปรับปรุงการเรียนการสอนในทุกระดับที่เกี่ยวกับ “นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน” เพื่อให้สอดคล้องกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพราะในตอนนี้ผู้เรียน หรือนักเรียน มีแนวโน้มที่เปลี่ยนไป เช่นกันกับผู้บริโภคในภาคการค้าและธุรกิจ เพียงแค่เปลี่ยนจากการซื้อ-ขาย หรือการทำโฆษณาออนไลน์ เป็นแนวโน้มที่เปลี่ยนไปในการศึกษา หรือการเรียนรู้แทน อีกทั้งได้ข้อสรุปจากอาจารย์ และนักวิชาการส่วนใหญ่ระบุแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ว่า การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 นี้ ครูหรืออาจารย์จะมีเพียงบทบาทในเชิงการช่วยแนะนำและออกแบบกิจกรรม ไปจนถึงการสร้างเงื่อนไขที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ ในรูปแบบการศึกษา และนวัตกรรมการสอนก็มีหลากหลายรูปแบบแยกย่อยออกไปตามคุณลักษณะของผู้เรียนหรือนักศึกษา อาจจะสรุปได้ว่า ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 นั้น จะต้องมีทักษะเหล่านี้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องทำการวิเคราะห์
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ |
หัวข้อบรรยาย/กิจกรรม |
ทักษะ |
1. เพื่อให้ครู อาจารย์ ตระหนัก เข้าใจและสามารถจัดการเรียนสอนแบบบูรณาการโดยใช้องค์ความรู้แบบ IPBL/ PBL / QBL เป็นฐานในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
หัวข้อการบรรยาย จัดการเรียนสอนแบบบูรณาการโดยใช้องค์ความรู้แบบ IPBL/ PBL / QBL กิจกรรม การระดมความคิด การสร้างรูปแบบกิจกรรมเพื่อบูรณาการระดับชั้นเรียน |
R ด้านความรู้(Knowledge) R ด้านทักษะ (Skill) R ด้านความเป็นครู(Attribute)
|
2. เพื่อให้ครู อาจารย์ ทราบถึงกระบวนการคิด รูปแบบ กลวิธี กลุยทธ์ในการสื่อสาร และพฤติกรรมผู้เรียน เพื่อวางแผนและจัดเตรียมสื่อการเรียนการสอนดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล |
หัวข้อการบรรยาย สื่อการเรียนการสอนดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ สู่ห้องเรียนแห่งโลกอนาคต กิจกรรม สร้างกลุ่มเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ วิเคราะห์สื่อการเรียนการสอนสื่อดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ วิเคราะห์ความเหมาะสมในการใช้สื่อการสอนดิจิทับให้เหมาะกับผู้เรียนทุกรูปแบบ |
R ด้านความรู้(Knowledge) R ด้านทักษะ (Skill) Rด้านความเป็นครู(Attribute) |
3. เพื่อให้ครูสร้างสื่อการสอนดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียนหรือรายวิชาได้อย่างสมบูรณ์ |
หัวข้อการบรรยาย สื่ออัจฉริยะกับห้องเรียนอนาคต กิจกรรม สร้างกลุ่มเพื่อสร้างสื่อการเรียนการสอนดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์รวมทั้งจำลองสถานการณ์เสมือนจริงในการใช้สื่อในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสมกับผู้เรียนหรือรายวิชาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด
|
R ด้านความรู้(Knowledge) R ด้านทักษะ (Skill) R ด้านความเป็นครู(Attribute) |
ผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้าอบรม
วิทยากรบรรยาย / ผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้ออื่นๆ เพิ่มเติม
วีดีโอแนะนำ
-
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ