หลักการและเหตุผล
การจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ สิ่งสำคัญคือการสร้างแนวคิดหลัก (Concept) ทางวิทยาศาตร์ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับสูงต่อไป ความรู้ทางวิทยาศาตร์มีทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ดังนั้นการใช้ภาพที่มีองค์ประกอบของหลักการทางวิทยาศาสตร์จะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจที่ชัดเจนและใช้เวลาในการทำความเข้าใจน้อยลง จึงมีเวลาทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ได้มากขึ้น อันจะส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ |
1.เพื่อให้ครูเข้าใจบทบาทของครู ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและสามารถวิเคราะห์หลักสูตรได้ 2.เพื่อให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ และงานวิจัย 3.ครูสามารถเลือกพัฒนานวัตกรรมหรือทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 4.ครูสามารถจัดการเรียนรู้ วิจัย พัฒนา นวัตกรรม เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ 5.เพื่อให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการและเกณฑ์การขอเลื่อนวิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ และนำไปใช้ได้ถูกต้อง
|
ผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้าอบรม
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ |
ผลลัพธ์ที่ครูจะได้รับ |
ผลลัพธ์ที่นักเรียนจะได้รับ |
1.ด้านการจัดการเรียนการสอน |
|
|
1.1 สร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร |
สามารถวิเคราะห์หลักสูตร จัดหน่วยการเรียนรู้ และการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ |
นักเรียนเรียนรู้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด |
1.2 การจัดการเรียนรู้ |
สามารถเลือกเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม |
นักเรียนมีความเข้าใจและมีทักษะตามหลักสูตร |
1.3 การใช้และพัฒนา สื่อนวัตกรรม เทคโนโยลีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ |
สามารถสร้างสื่อ / นวัตกรรมเทคโนโลยีและสามารถใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นได้ |
นักเรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียน |
1.4 การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ |
สามารถออกแบบการวัดและประเมินผลได้เหมาะสมสอดคล้องกับตัวชี้วัด |
นักเรียนได้รับการประเมินที่สะท้อนคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างเที่ยงตรง |
1.5 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
|
มีความรู้ความเข้าใจและทักษะเบื้องต้นในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน |
นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น |
2.ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน |
|
|
2.1 บริหารจัดการชั้นเรียน |
- |
- |
2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน |
- |
- |
2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียน หรือ รายวิชา |
- |
- |
3.ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ |
|
|
3.1 การพัฒนาตนเอง |
มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการใช้สื่อ นวัตกรรม การวิจัยในชั้นเรียน และความก้าวหน้าทางวิชาชีพ |
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น 1.นักเรียนเกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน
|
3.2 การพัฒนาวิชาชีพ |
-ครูเกิดความรู้ความเข้าใจและทักษะที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน -ครูมีแนวทางในการนำเสนอผลงานเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ และเข้าร่วมในชุมชนการเรียนรู้ (PLC)
|
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น |
วิทยากรบรรยาย / ผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้ออื่นๆ เพิ่มเติม
เกียรติบัตร/วุฒิบัตร
วีดีโอแนะนำ
-
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ